วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ความต้องการและมุมมองของทีม ในการให้บริการ Cloud

เราสร้าง Cloud ขึ้นเพื่อสนับสนุนทุกคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีแรงบันดาลใจ มีเป้าหมาย ในการทำสิ่งใหม่ๆ ให้สามารถทำในสิ่งที่ต้องการ และเป้าหมายสำคัญในการให้บริการ Cloud Service ของเรา คือ คุณสามารถเข้าถึง เข้าใจ และใช้งานมันได้อย่างสะดวกสบาย โดยที่คุณไม่ต้องคำนึงถึงอุปสรรคทางด้าน IT อีกต่อไป

ความหมายของ IRIS

IRIS ย่อมาจากคำว่า Intelligent Resilient Information System หมายถึง ระบบสารสนเทศที่มีเสถียรภาพสูงและชาญฉลาด IRIS เป็น Cloud Platform ของเราหรือพูดง่ายๆว่าเป็นระบบหลังบ้านที่ทำให้เกิดบริการ Cloud Service และบริการอื่นๆอีกมากมายในอนาคตที่คุณสามารถวางใจได้
และในอีกมุมหนึ่ง IRIS เป็นชื่อของเทพธิดาตามตำนานของกรีก ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็นเทพธิดาสายรุ้ง ผู้ซึ่งดูแลท้องฟ้าและทะเล และยังทำหน้าที่เป็นผู้รับสารจากพระเจ้ามาส่งให้กับโลกมนุษย์ เหมือนกับเราที่คอยสร้างบริการหลากหลายรูปแบบให้คุณได้ใช้งานภายใต้ IRIS Platform เสมือนสายรุ้งหลากหลายเฉดสีที่เติมแต่งท้องฟ้าให้มีสีสัน


ทำไมต้อง IRIS

แนวคิดของ IRIS Platform คือการสร้างระบบ Proprietary Platform เพื่อรองรับ Multi-Cloud & Multi-Technology เชื่อมต่อระบบ IT อื่น ๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยและที่สำคัญ คือ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคตโดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง IRIS Platform นี้ จะทำหน้าที่เหมือนเป็นห้องครัวขนาดใหญ่ที่มีการออกแบบและสร้างขึ้นมาอย่างดี มีอุปกรณ์ที่เพียบพร้อมสำหรับการสร้าง Cloud Service ทุกรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีทีมงานที่คัดสรรมาอย่างพิเศษเปรียบเสมือนพ่อครัวที่จะทำ หน้าที่ในการสร้างสรรค์บริการต่างๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

Cloud ช่วยให้คุณบอกลาปัญหาเรื่อง IT


  • ลดต้นทุนทางด้าน IT

    บริการ Cloud สามารถช่วยลดรายจ่ายเกี่ยวกับ IT infrastructure ได้ โดยเมื่อคุณใช้บริการ Cloud สิ่งที่คุณจะต้องจ่ายมีเพียงแค่ค่าใช้บริการตามจำนวนทรัพยากรทางด้าน IT ที่คุณต้องการใช้งานจริงๆ เท่านั้น คุณไม่ต้องลงทุนเป็นเงินจำนวนมากๆ ในการซื้อ hardware หรือ IT infrastructure มาเผื่อไว้ล่วงหน้าอีกต่อไป
  • สะดวกในการเข้าถึงทรัพยากร

    คุณสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ บนระบบ Cloud ได้จากทุกที่ ทุกเวลา เพียงมีเครื่องมือเข้า Internet
  • ยืดหยุ่นในการใช้บริการ

    คุณสามารถปรับเพิ่ม – ลด Resource บน Cloud ได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องวุ่นวายเรื่องระบบ และไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ Hardware เพิ่มเติม
  • มีความปลอดภัยสูง

    อัตราค่าใช้บริการ Cloud Service

    บริการ IaaS แบบ Premium

    Package
    vCPU
    RAM (GB)
    Storage (GB)
    ราคาต่อชั่วโมง (บาท)
    ราคาต่อวัน (บาท)
    ราคาต่อเดือน (บาท)
    XS S M L XL
    1 1 2 4 8
    1 2 4 8 16
    80 160 320 640 1,280
    3 5 10 20 40
    72 120 240 480 960
    2,160 3,600 7,200 14,400 28,800
    * หมายเหตุ ระบบปฏิบัติการ Linux OS ฟรี

    บริการ IaaS แบบ Premium Bundle Windows

    Package
    vCPU
    RAM (GB)
    Storage (GB)
    ราคาต่อชั่วโมง (บาท)
    ราคาต่อวัน (บาท)
    ราคาต่อเดือน (บาท)
    XS S M L XL
    1 1 2 4 8
    1 2 4 8 16
    80 160 320 640 1,280
    3.28 5.28 10.56 20.83 41.39
    79 127 253 500 993
    2,360 3,800 7,600 15,000 29,800

    บริการเสริม

    ไม่ต้องกังวลเรื่องระบบล่ม หรือกลัวการโดนแฮกเกอร์เข้ามาป่วน เราพัฒนาระบบ Cloud ให้มีความปลอดภัยสูงโดยใช้ระบบ Firewall, Backup และระบบความปลอดภัยที่ได้รับมาตรฐานสากล

เทคโนโลยี DLNA คืออะไร

DLNA มาจากคำว่า Digital Living Network Alliance  ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" โดยจะใช้งานได้นั้นอุปกรณ์จะต้องมีเครื่องหมาย DLNA ติดอยู่เพื่อระบุว่าสามารถใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้
เทคโนโลยี DLNA  นี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก่อตั้งโดยค่าย SONY นี้เอง  ปัจจุบันนี้มีสมาชิก  245 ราย รวมทั้งแบรนด์ดังหลายแบรนด์ เช่น  ACCESS, AT&T Labs, Awox, Broadcom, Cisco Systems, Comcast, DIRECTV, Dolby Laboratories, Ericsson, Hewlett-Packard, Huawei, Intel, LG Electronics, Microsoft, Motorola, Nokia, Panasonic, Promise Technology, Qualcomm, Samsung Electronics, Sharp Corporation, Sony Electronics, Technicolor, and Verizon.และอีกหลายราย ซึ่งทีวีสมัยใหม่และอุปกรณ์อื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอ ในสเปคกลางถึงสูง ก็จะมีเทคโนโลยีนี้ติดตัวมาด้วยทั้งนั้น ซึ่งก็รวมถึง Samsung  ที่ใช้ชื่อว่า  Allshare  และ LG ก็ใช้อีกชื่อคือ Smart Share ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับมาตรฐานกลางคือ DLNA แม้จะคนละแบรนด์ แต่ก็ยังสามารถส่งถึงกันได้

ประโยชน์ ของ DLNA นี้คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analog เชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย และทำให้รกรุงรัง แน่นอนว่าทำให้การสร้าง home network ทำได้ง่ายดาย หลายๆคนก็นำมาทำเป็น media center โดยใข้คอมพิวเตอร์ส่งภาพ วีดีโอ หรือดูหนังได้บนจอทีวีใหญ่ๆ ผ่านทาง DLNA นี้ แต่ถ้าเราจะได้ใช้เทคโนโลยี DLNA …smart TV และ มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวี แบบไร้สายนี้ จะต้องรองรับเทคโนโลยี DLNA ด้วยกัน โดยวิธีสังเกตอย่างง่ายๆ  คือดูที่กล่องหรือตัวเครื่องว่ามีสัญลักษณ์ DLNA หรือไม่ และ ทั้ง smart TV และมือถือ หรือ Tablet  หรือ คอมพิวเตอร์นั้นๆ จะต้องเชื่อมต่ออยู่ในวง  Wi-Fi เดียวกันกับทีวีด้วย
อุปกรณ์ ที่รองรับ DLNA มีสองโหมด คือ โหมดสำหรับเป็น Server ให้ อุปกรณ์ชิ้นอื่นๆเล่นไฟล์จากตัวเรา กับอีกโหมดคือเอาอุปกรณ์ที่ถืออยู่เล่นไฟล์จากเครืองอื่นๆ  อาจจะดูงงๆ พูดอีกทีก็คือเป็นผู้เล่น หรือเป็นผู้แชร์นั่นเอง แถมอีกอันที่ลึกซึ้งหน่อยคือ สามารถเป็นตัวควบคุมให้อุปกรณ์อีกตัวเล่นไฟล์ที่อยู่บนอุปกรณ์อื่นอีกที .. เป็นไงล่ะ งงกันเลยทีเดียว
ซึ่ง เท่าที่ลองมา พบว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะทำตัวเองเป็นได้ทั้งตัวเล่นไฟล์และตัวแชร์ไฟล์ เช่น TV สามารถเลือกไฟล์หนังจาก Network Storage มาเล่นได้ ในขณะเดียวกัน TV เองก็สามารถแชร์ไฟล์รายการที่อัดไว้(ถ้ามี) ให้กับ Notebook หรือมือถือเอาไปเล่นต่อได้เช่นกัน
ตามทฤษฏี DLNA สามารถเป็นได้ 4 โหมด คือ
DMC (Digital Media Controllers) : อุปกรณ์ควบคุมการเล่นและดึงไฟล์ Media จาก Server (DMS)
DMS (Digital Media Servers) : ทำอุปกรณ์ของตัวเองเป็นที่เก็บไฟล์ต่างๆ (Server) ให้อุปกรณ์ตัวอื่นดึงไฟล์ของเราไปใช้งานได้
DMR (Digital Media Renderers) : มีอุปกรณ์ (DMC) มาควบคุมเราในการใช้งานตัวอย่างเช่น ทีวี, รับเสียง / วิดีโอแสดงภาพและลำโพงระยะไกล สำหรับการฟังเพลง
DMP (Digital Media Players) : อุปกรณ์ของเราเป็นตัวดึงข้อมูลจาก Server (DMS) เพื่อมาแสดงผลได้แก่ โทรทัศน์ สเตอริโอ home theater จอภาพแบบไร้สาย และเกมคอนโซล